เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอุปจารแห่งกรรมฐาน ต่างโดยกรณียะ
และอกรณียะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ภิกษุผู้อยู่ป่า ซึ่งประสงค์จะบรรลุสันตบท
แล้วอยู่หรือประสงค์ปฏิบัติ เพื่อบรรลุสันตบทนั้น และแก่พวกภิกษุผู้ประสงค์จะ
รับกรรมฐาน อยู่แม้ทุกรูป โดยยกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นสำคัญ ด้วยสองคาถาครึ่ง
นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสเมตตากถา โดยนัยว่า สุขิโน ว่า เข-
มิโน โหนฺตุ
เป็นต้น เพื่อเป็นปริตรกำจัดภัยแต่เทวดานั้น และเพื่อเป็น
กรรมฐาน โดยฌานเป็นบาทแห่งวิปัสสนา แก่ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน ได้แก่ ผู้พรั่งพร้อมด้วยสุข.
บทว่า เขมิโน แปลว่า ผู้มีความเกษม. ท่านอธิบายว่าผู้ไม่มีภัย ไม่มีปัทวะ
บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์มีชีวิต
บทว่า สุขิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตถึงสุข. ก็ในคำนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าผู้มี
สุข โดยสุขทางกาย. ชื่อว่ามีจิตถึงสุข โดยสุขทางใจ, ชื่อว่ามีความเกษม
แม้โดยสุขทั้งสองนั้น หรือโดยไปปราศจากภัยและอุปัทวะทั้งปวง. ก็เหตุไร
จึงตรัสอย่างนี้. ก็เพื่อแสดงอาการแห่งเมตตาภาวนา. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงควร
เจริญเมตตาว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีสุข ดังนี้บ้าง ว่า จงมีความเกษม
ดังนี้บ้าง จงเป็นผู้มีตนถึงสุข ดังนี้บ้าง.

พรรณนาคาถาที่ 4


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยสังเขป ตั้งแต่
อุปจารจนถึงอัปปนาเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงเมตตาภาวนา
นั้น แม้โดยพิศดาร จึงตรัสสองคาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
เพราะเหตุที่จิตถูกสะสมอยู่ในอารมณ์มาก ๆ ย่อมไม่หยุดอยู่ในอารมณ์เดียว
โดยเบื้องต้นเท่านั้น แต่จะแล่นติดตามประเภทอารมณ์โดยลำดับ ฉะนั้น จึง
ตรัสสองคาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น เพื่อจิตที่แล่นติดตามไปแล้วหยุดอยู่ ใน